ความเสี่ยงของการกู้เงิน

ความเสี่ยงของการกู้เงิน

การกู้เงิน

เรื่องเงินๆ ทองๆ นั้น หลายๆ ท่านที่ต้องกินต้องใช้และมีภาระต่างๆ มากมายต่างก็ดิ้นรนหาเงินมาใช้ตามความต้องการกัน ซึ่งหนึ่งในช่องทางที่หาเงินก้อนได้ไวที่สุดนั้นก็คือการ “กู้เงิน” แต่ในวันนี้เราอยากจะพาท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านลงไปสำรวจพร้อมกับทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ความเสี่ยงของการกู้เงิน” กันสักหน่อยครับ เพื่อป้องกันไม่ให้ทำอะไรเกินตัวครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมกันเลย

ปัจจัยที่ทำให้สภาพคล่องทางการเงินของเรามีปปัญหา

●ครัวเรือนที่มีปัญหา (ทางการเงิน) คือ ครัวเรือนที่มีรายรับต่อเดือนน้อยกว่ารายจ่ายต่อเดือน โดยรายจ่ายต่อเดือนสำหรับกลุ่มครัวเรือนที่มีหนี้จะนับรวมภาระหนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือนด้วย

●การคำนวณอายุเฉลี่ยของครัวเรือน จะคำนวณโดยให้น้ำหนักอายุตามสัดส่วนรายได้ของสมาชิกในครัวเรือน (weighted average age by income) กล่าวคือ หากแหล่งรายได้หลักของครัวเรือนมาจากสมาชิกอายุน้อย อายุเฉลี่ยของครัวเรือนนั้นๆ ก็จะต่ำ ขณะที่ครัวเรือนที่มีอายุเฉลี่ยสูงจะมีแหล่งรายได้หลักมาจากสมาชิกที่มีอายุมาก

●สัดส่วนรายได้มั่นคง (stable income ratio) คำนวณโดยการหารรายได้ที่มั่นคงด้วยรายได้ทั้งหมดของครัวเรือน ทั้งนี้ รายได้ที่มั่นคงถูกนิยามตามความถี่ของรายรับ เช่น รายได้ของสมาชิกในครัวเรือนที่ได้รับเงินเป็นรายเดือนจะถูกนับเป็นรายได้ที่มั่นคง ส่วนสมาชิกในครัวเรือนที่รับรายได้ในความถี่อื่น เช่น รายวัน รายสัปดาห์ รายชิ้นงาน หรือตามฤดูกาลจะถูกนับเป็นรายได้ที่ไม่มั่นคง โดยรายได้ของผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่ไม่ได้รับเงินเดือนจะถือเป็นรายได้ที่ไม่มั่นคงนั้นเองครับ

รู้จักกับการแบ่งประเภทรายจ่ายต่างๆ

– รายจ่ายจำเป็นประกอบด้วยรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าเสื้อผ้า ค่าอาหาร ค่าเวชภัณฑ์และค่าตรวจรักษาพยาบาลพื้นฐาน นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายจำเป็นยังนับรวมค่าใช้จ่ายอีก 2 หมวด คือ หมวดค่าเดินทางและหมวดเพื่อการศึกษา

– รายจ่ายฉุกเฉินประกอบด้วยค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน อาทิ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน

– รายจ่ายไม่จำเป็นประกอบด้วยรายจ่ายอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงใน 2 ข้อแรกแต่ยังไม่รวมภาระหนี้ อาทิ ค่าใช้จ่ายในหมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ เครื่องสำอาง ของใช้ส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็นการเดินทางในโอกาสพิเศษและการท่องเที่ยว การสื่อสาร และการบันเทิง เป็นต้น

– รายจ่ายภาระหนี้ประกอบด้วยค่างวดหรือค่าผ่อนต่อเดือน ซึ่งนับรวมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย หากไม่นับรวมรายจ่ายภาระหนี้ ข้อมูล SES ระหว่างในปี 2552 – 2560 จะให้ค่าเฉลี่ยของสัดส่วนรายจ่ายจำเป็นสูงถึงร้อยละ 75 ซึ่งน่าจะสูงกว่าความเป็นจริง เนื่องจากค่าใช้จ่ายหลายหมวดในรายจ่ายจำเป็นมีส่วนที่ทับซ้อนกับรายจ่ายไม่จำเป็นด้วยแต่ไม่สามารถแยกออกได้นั้นเองครับ

แล้วความเสี่ยงที่จะเกิดจากการกูเงินคืออะไร?

●กู้เงินเกินตัวและไม่มีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้  ในส่วนนี้ทางธนาคารเป็นผู้พิจารณาด้วยตัวเองจากการตรวจสอบหลักฐาน และนำไปประเมินความเสี่ยงในการชำระหนี้ของเรา เพื่อจะได้ดูความสามารถในการชำระหนี้คคืนของเรามากน้อยแค่ไหน

●ไม่มีระบบบัญชีที่ชัดเจนมาแสดง การไม่ได้จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่ายที่ชัดเจนมากพอ ทำให้ขาดการจดบันทึกการใช้จ่ายของตนเอง ทุกครั้งที่มีการใช้จ่ายเงินอย่างดีพอ รวมถึงการใช้จ่ายแบบต่างๆ จะทำให้เรารู้สภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น

●ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เหตุผลนี้ถือเป็นเหตุผลหลักอีกสาเหตุหนึ่ง แต่เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าในระบบสถาบันการเงินทุกสถาบันนั้นมีความจำเป็นต้องขอเรียกดูหลักประกันสำหรับใช้ค้ำประกันสินเชื่อ แต่อาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ปัญหานี้เกิดขึ้นได้กับทุกคนครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ความเสี่ยงของการกู้เงิน” ที่เราได้วรบรวมมาให้ทุกๆ ท่านกันได้อ่านกัน คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยกันนะครับ

เรื่องเงินๆ ทองๆ นั้น หลายๆ ท่านที่ต้องกินต้องใช้และมีภาระต่างๆ มากมายต่างก็ดิ้นรนหาเงินมาใช้ตามความต้องการกัน ซึ่งหนึ่งในช่องทางที่หาเงินก้อนได้ไวที่สุดนั้นก็คือการ “กู้เงิน” แต่ในวันนี้เราอยากจะพาท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านลงไปสำรวจพร้อมกับทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ความเสี่ยงของการกู้เงิน” กันสักหน่อยครับ เพื่อป้องกันไม่ให้ทำอะไรเกินตัวครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมกันเลย ปัจจัยที่ทำให้สภาพคล่องทางการเงินของเรามีปปัญหา ●ครัวเรือนที่มีปัญหา (ทางการเงิน) คือ ครัวเรือนที่มีรายรับต่อเดือนน้อยกว่ารายจ่ายต่อเดือน โดยรายจ่ายต่อเดือนสำหรับกลุ่มครัวเรือนที่มีหนี้จะนับรวมภาระหนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือนด้วย ●การคำนวณอายุเฉลี่ยของครัวเรือน จะคำนวณโดยให้น้ำหนักอายุตามสัดส่วนรายได้ของสมาชิกในครัวเรือน (weighted average age…